ก้างปลา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus pulcher Wall. ex Muell. Arg. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ชื่ออื่น : ก้างปลาขาว, ก้างปลาแดง, ปู่เจ้าคาคลอง, ปู่เจ้าขวางคลอง, คาคลอง ,ขวางคลอง, ข่าคลอง (สุพรรณฯ), คำอ้าย(โคราช) ,ก้างปลาเครือ ,หมัดคำ(แพร่)
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ ๗ ฟุต ใบเดี่ยว รูปไข่หรือรี หัวท้ายมน ออกเรียงสลับกัน ขอบเรียบ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ก้านใบยาว ๒-๓ มม. ดอกเล็กๆ ทรงกลมช่อละ ๑-๓ ดอก ออกตามง่ามใบ แยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน มีกลับรองดอก ๔-ต อัน สีเขียวอมแดง ไม่มีกลีบดอก ผลนุ่ม โตกว่าเมล็ดพริกไทยเล็กน้อย ก้างปลาขาว ผลสีขาว ก้างปลาแดง ผลสุกสีดำ ขึ้นตามที่ลุ่มรกร้างทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือกิ่งชำ ก้างปลาขาว ใบบาง ลำต้นขาวนวล ก้างปลาแดง ใบหนา ลำต้นและกิ่งก้าน สีแดงถึงน้ำตาล นิยมใช้ ก้างปลาแดงทำยา ในใบมี tannin
สรรพคุณ : ใบ รสฝาดเฝื่อน ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ บดเป็นผงโรยสมานแผล ต้น ,เปลือก รสฝาดเฝื่อน ต้มหรือชงน้ำร้องดื่ม แก้น้ำเหลืองเสียขับปัสสาวะ ฟอกโลหิต แก้บิด ท้องเสีย ลูก รสฝาดเฝื่อน สมานในระบบทางเดินอาหาร แก้อาการอักเสบต่างๆ ราก รสฝาดเย็น ต้มดื่ม แก้หอบหืด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ขับพิษ ไข้หัว แก้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด ฝนทาแก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา
อ้างอิง - สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย
|